วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

จังหวัดเพชรบูรณ์







"จังหวัดเพชรบูรณ์" เดิมสะกดว่า "เพ็ชร์บูรณ์" เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทยในทางภูมิศาสตร์และอุตุนิยมวิทยาจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศ มีประชากร 994,397 คนแบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และมีเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก





ประวัติศาสตร์



ชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อสมัยก่อนน่าจะชื่อว่าเมือง "เพชบุระ" ตามที่ปรากฏในจารึกลานทองคำ ที่พบจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่ในระยะหลังต่อมาได้เพื้ยนหรือเปลี่ยนเป็นชื่อ "เพชรบูรณ์" กลายความหมายเป็นเมืองที่อุดมด้วยเพชร และได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งเป็นเขตการปกครองใหม่ ขึ้นเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. 2442 มณฑลเพชรบูรณ์ได้ตั้งขึ้นเป็นอิสระ เนื่องจากท้องที่มีภูเขาล้อมรอบ มีการเชื่อมต่อคมนาคมกับมณฑลอื่นไม่สะดวก ลำบากแก่การติดต่อราชการ และโอนเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุง มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอ โอนอำเภอบัวชุม (ปัจจุบันเป็นตำบล) อำเภอชัยบาดาลขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ มณฑลเพชรบูรณ์จึงมีสองเมือง คือ หล่มสัก กับ เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2447 ได้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ตั้งเป็นมณฑลอีกในปี พ.ศ. 2450 และได้ยุบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2459 จังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้นมี 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัดป่า (ปัจจุบันคือตำบลในอำเภอหล่มสัก) อำเภอวิเชียรบุรี และกิ่งอำเภอชนแดน จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ภูมิศาสตร์




ที่ตั้ง


จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยเกณฑ์การแบ่งภาคของราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดในภาคกลาง จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนที่กว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21

อาณาเขต


  • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดกับอำเภอด่านซ้าย อำเภอภูหลวง และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
  • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดกับอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น, อำเภอคอนสาร อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
  • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดกับอำเภอโคกเจริญ อำเภอชัยบาดาล และอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
  • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดกับอำเภอนครไทย อำเภอวังทอง และอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ และอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร, อำเภอหนองบัว และอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

ภูมิประเทศ


จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดในภาคกลาง แล้วลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่ดีมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร







ภูมิอากาศ


เนื่องจากสภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากในแต่ละฤดูกาล คือ อากาศจะร้อนมากในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อำเภอน้ำหนาว อำเภอเขาค้อ และอำเภอหล่มเก่า ส่วนพื้นที่บนภูเขาจะมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ในฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีน้ำป่าไหลหลากมาท่วมในที่ราบ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักตอนใต้ของจังหวัด ในฤดูแล้งน้ำจะขาดแคลนไม่เพียงพอกับการเกษตรกรรม ในฤดูร้อนและฤดูฝน จะมีอุณหภูมิ 20-24 องศา






10 ที่เที่ยวเพชรบูรณ์ถ้าไม่ไปถือว่าพลาด


1.ชมไร่ต้นยาสูบ จากทางหลวงหมายเลข 21 วิ่งไปสู่ อ.หล่มสัก หนึ่งในแหล่งปลูกต้นยาสูบแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ระหว่างทางเราได้เห็นไร่ยาสูบเป็น
ระยะ ซึ่งมองเผินๆ ช่างคล้ายไร่กระหล่ำปลี ดูเขียวขจีสดชื่นตลอดทาง





2.พระธาตุผาซ่อนแก้ว ชมความงดงามของเดจีย์สีเหลืองทองอร่ามที่เห็นโดดเด่นจับตามาแต่ไกล มาที่นี่นอกจากจะได้สัมผัสบรรยากาศอันแสนเงียบสงบของสถานที่ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแล้ว เรายังได้สักการะพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุเพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิตอีกด้วย





3.ไร่กำนันจุล เลือกซื้อของฝากสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมากมาย อาทิ สละ มะขามหวาน ฯลฯ ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ แบบชิลล์ๆ






4.ไร่กะหล่ำปลี เต็มไปหมดทุกภูเขา เราสามารถเดินไปดูเก็บกะหล่ำปลี ซึ่งก็เป็นชาวเขาเผ่าม้ง จะขอซื้อมากินก็ได้ราคาแสนถูกและสดกรอบเหนือคำบรรยาย






5.ภูทับเบิก สัมผัสทะเลหมอกบนยอดภูเขา ชื่นชมความเขียวขจีของพรรณไม้ สูดอากาศบริสุทธิ์ และเฝ้ามองความสวยงามของพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าและยามเย็น ต้องไม่พลาดที่นี่




6.เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุเขาค้อ ถูกสร้างตั้งอยู่บนยอดเขาติดกับหอสมุดนานาชาติเขาค้อ บ้านกองเนียม ต.เขาค้อ ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอันเชิญมาจากประเทศศรีลังกา




7.อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ เป็นหินอ่อนทั้งหมดเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานอนุสรณ์กว้าง 11 เมตร ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถานสูง 24 เมตรถูกสร้างขึ้นเพื่อเทอดทูนวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อปกป้องพื้นที่ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย





8.พระตำหนักเขาค้อ พระตำหนักตั้งอยู่บนเขาย่า ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเขาค้อ ทางขึ้นค่อนข้างชันมากควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงานโครงการในพระราชดำริและทรงตรวจเยี่ยมราษฎร อ.เขาค้อ






9.อนุสาวรีย์จีนฮ่อ ตั้งอยู่เลย กม. 23 ของทางหลวงหมายเลข 2196 ไปเล็กน้อย เป็นอนุสาวรีย์ทหารอาสาจากหน่วยรบกองพันที่ 93 ซึ่งมาช่วยรบในพื้นที่เขาค้อและเสียชีวิตในการสู้รบ ที่ตรงนี้เป็นอีกจุดนึกที่เราจะได้สัมผัสบรรยากาศยามเช้าแบบสดชื่นๆ




10.อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางอุดมการณ์ของชนชาติไทยที่สำคัญในอดีต

ศิลปะ วัตนธรรม ประเพณี


เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ

 เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง จัดขึ้นที่ อ.หล่มสัก  เป็นเทศกาลประจำปีจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อเคารพสักการะเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณของพ่อขุนผาเมือง ปุชนียบุคคลของชาติไทย







ประเพณีบุญบั้งไฟเดือนหกและผีตาโม่  

เป็นงานเทศกาลบุญบั้งไฟขอฝนและผีตาโม่ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยโบราณที่มีประวัติยาวนานของผู้คนในท้องถิ่นของอำเภอหล่มเก่า เป็นผีที่คอยสิงสถิตอยู่ตามบ้านเรือน ป่าเขาลำเนาไพร







านมะขามหวานและงานกาชาด

 กำหนดจัดงานในช่วงปลายเดือนมกราคม ภายในงานจะมีการประกวด มะขามหวาน การแสดงทางวัฒนธรรมและการละเล่นต่าง ๆ มากมาย การจำหน่ายสินค้า และนิทรรศการ 




งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ 

จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เริ่ม จากชาวเมืองเพชรบูรณ์อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองแห่ไปรอบเมืองจนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่า ราชการจังหวัด จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดเพชรบูรณ์





"มะขาม ไก่ย่าง ขนมจีน ลาบเป็ด" ชิมของเด็ดเมืองเพชรบูรณ์

          

    เริ่มจาก “มะขามหวาน” กันก่อนเลย เพชรบูรณ์ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองมะขามหวาน” เนื่องจากมะขามหวานเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดนี้มาแต่ดั้งเดิม ภายในจังหวัดมีพื้นที่ปลูกมะขามหวานนับหมื่นไร่ ปลูกมากที่สุดในอำเภอหล่มสักและอำเภอเมือง พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์ประกายทอง หรือ ตาแป๊ะ พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) พันธุ์ศรีชมพู พันธุ์ขันตี พันธุ์หมื่นจง พันธุ์อินทผาลัม พันธุ์ปากดุก พันธุ์นายเบื้อง เป็นต้น โดยส่วนมากมะขามจะออกผลพร้อมกินช่วงเดือนมกราคม ทางจังหวัดเพชรบูรณ์จึงจัดงานเทศกาลมะขามหวานขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงนั้น 







  “ไก่ย่างวิเชียรบุรี” เป็นอีกหนึ่งของกินขึ้นชื่อในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นชื่อขนาดที่ว่าไปจังหวัดไหนๆ ก็เห็นไก่ย่างวิเชียรบุรีเต็มไปหมด ถ้าไม่อร่อยจริงคงไม่มีใครนำไปอ้างกันทั่วบ้านทั่วเมืองขนาดนี้
       
       แต่หากเป็นไก่ย่างวิเชียรบุรีแท้ๆ จะต้องมีเอกลักษณ์ตรงที่ไก่จะถูกย่างจนหนังกรอบ แต่เนื้อในนุ่มและแห้ง หมักกับเครื่องปรุงอย่างกระเทียม พริกไทย รากผักชี ตะไคร้ นมสด และเครื่องปรุงรสต่างๆ จนเข้าเนื้อ แล้วจึงนำมาย่างขาย
       
       ใครที่อยากชิมไก่ย่างวิเชียรบุรีต้นตำรับ บริเวณสามแยกวิเชียรบุรีมีให้เลือกหลายร้าน รสชาติใกล้เคียงกัน ชอบร้านไหนแวะร้านนั้นได้เลย ส่วนมากในร้านก็จะมีอาหารอีสานอย่างส้มตำ ลาบ น้ำตก ให้กินคู่กับไก่ย่างอร่อยกันไปเลย 



   


   ส่วนในอำเภอหล่มเก่า ก็ต้องมาชิม “ขนมจีนหล่มเก่า” ของอร่อยที่ไม่ควรพลาดหากได้มาเยือน เพราะในแถบอำเภอหล่มเก่านี้มีร้านขนมจีนอยู่หลายเจ้าด้วยกัน โดยเฉพาะบริเวณริมถนนเพชรบูรณ์-หล่มเก่า ถนนเส้นนี้มีร้านขนมจีนหลายเจ้า ส่วนใหญ่เป็นขนมจีนเส้นสดที่ทำกันแบบสดใหม่วันต่อวัน เพิ่มความน่าสนใจให้เส้นขนมจีนด้วยสีสันจากธรรมชาติ ทั้งดอกอัญชัน ฟักทอง ฯลฯ พร้อมจับเป็นม้วนกลมพอดีคำ กินคู่กับน้ำยาชนิดต่างๆ ทั้งน้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก น้ำเงี้ยว รวมถึงไข่ต้มและผักสดหลายชนิด รับรองว่าจานเดียวไม่พอแน่นอน
       
       ขนมจีนในอำเภอหล่มเก่าก็มีให้เลือกกินหลายร้านเช่นเดียวกัน ใครผ่านไปแถวถนนเพชรบูรณ์-หล่มเก่า ก็จะเจอร้านขนมจีนนับ 10 ร้าน ให้เลือกชิมตามชอบใจ
       





       สุดท้ายเป็นของดีของอำเภอหล่มสัก คือ “ลาบเป็ดหล่มสัก” ที่กำลังมาแรง เป็นอาหารจานเด็ดที่เพชรบูรณ์ชูขึ้นมาชวนชิม มีหลายเมนูแซ่บๆ จากเป็ดให้เลือกชิม ไม่ว่าจะเป็นลาบเป็ดที่เป็นเมนูแนะนำ นอกนั้นก็ยังมีต้มยำเป็ด ผัดขี้เมาเป็ด ลาบเลือดเป็ด ฯลฯ และร้านลาบเป็ดที่หล่มสักก็มีให้เลือกหลายร้านเช่นกัน ถ้าอยากได้ร้านเด็ดๆ ลองกระซิบถามคนท้องถิ่นดู รับรองว่าจะได้ชิมรสชาติต้นตำรับแน่นอน
       








..












เมืองต้องห้าม...พลาด ! ภูดอกไม้สายหมอก จ.เพชรบูรณ์



















ขอขอบคุณข้อมูลจาก





และขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจากช่างภาพหลายๆคนที่ช่วยสนับสนุนการศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น